กิจกรรม 29 พ.ย.-3 ธ.ค.2553


ตอบ3 เพระ  เนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ และระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะ (urethra) และ
ส่วน trigone  ของกระเพาะปัสสาวะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียงกัน  และเจริญเติบโตมาด้วยกัน

ตั้งแต่ระยะเอ็มบริโอ (embryo)  นอกจากนี้ยังพบ ตัวรับเอสโตรเจน (estrogen receptor) ใน

เนื้อเยื่อของอวัยวะทั้งสองระบบ ดังนั้นการลดลงของระดับเอสโตรเจนในวัยหมดระดู จึงอาจมี
ผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและอาการต่างๆ 1. ผลต่ออวัยวะสืบพัน ระดับเอสโตรเจนที่ลดต่ำลงในวัยหมดระดู จะมีผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ ตอบสนองต่อเอสโตรเจนดังนี้คือ
       
1.1 ปากช่องคลอด (vulva)
                  ปากช่องคลอดจะมีการสูญเสียส่วนของคอลลาเจน   (collagen)   เนื้อเยื่อไขมันและ

ความสามารถในการอุ้มน้ำของเนื้อเยื่อ นอกจากนี้ต่อมของเซลล์บุผิว (epithelial gland) จะมีการ

ฝ่อลีบและบางลง สารคัดหลั่งจากต่อม sebaceous ลดลง    จึงอาจทำให้มีอาการเจ็บ แสบร้อน

คัน หรือรู้สึกแห้งบริเวณปากช่องคลอดได้      ในส่วนของหนังหุ้มปลาย (prepuce) ของคลิตอริส (clitoris)  จะฝ่อลีบมากกว่าส่วนหัว (glans)   ทำให้คลิตอริสได้รับการเสียดสีและระคายเคืองได้
ง่ายขึ้น
       
1.2  ช่องคลอด (vagina)
                   ผนังช่องคลอดเป็นเยื่อเมือก (mucosa) ซึ่งมีต่อมที่จะสร้างสารคัดหลั่ง การทำงาน

ของต่อมเหล่านี้จะขึ้นกับฮอร์โมนเอสโตรเจน      เมื่อมีระดับของเอสโตรเจนต่ำ ต่อมเหล่านี้จะไม่

สามารถสร้างสารคัดหลั่งได้เพียงพอ        จึงทำให้เกิดอาการช่องคลอดแห้ง (vaginal dryness)

การหลั่งสารหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์ช้าลง       และตามมาด้วยอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ (dyspareunia) การขาดเอสโตรเจนทำให้ผนังช่องคลอดบางลง ซีด ยืดหยุ่นน้อยลง รอยย่นของ

ผิวด้านในช่องคลอด (rugae) หายไป ช่องคลอดจะสั้นและแคบลง     ผิวด้านในของช่องคลอด

เปื่อยยุ่ยง่าย  อาจมีจุดเลือดออก (petechiae)  หรือมีแผลเกิดขึ้นและมีเลือดออกได้ง่าย เกิดการ

ยึดติด (adhesion)  ของช่องคลอดได้ง่ายโดยเฉพาะรายที่ไม่ค่อยมีเพศสัมพันธ์

                  สารคัดหลั่งที่สร้างจากต่อมบริเวณเยื่อเมือกของผนังช่องคลอด ประกอบด้วย polysaccharide ซึ่งจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียที่ชื่ว่า lactobacilli ไปเป็นกรดแลคติค

(lactic acid) ทำให้ช่องคลอดมีสภาพเป็นกรด (pH 3.5-4.5)  ซึ่งจะยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ

แบคทีเรียที่อาจก่อให้เกิดโรคได้    ในสภาวะที่ขาดเอสโตรเจนต่อมบริเวณเยื่อเมือกไม่สามารถสร้าง

polysaccharide ได้  จึงทำให้ช่องคลอดมีสภาพเป็นด่าง (pH 6-8) ซึ่ง lactobacilli    ไม่สามารถ

เจริญเติบโตได้ดี จึงทำให้เชื้อแบคทีเรีย ชนิดอื่นๆ ได้แก่ streptococci, enterococci และ

esterichia coli เจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อได้ง่าย จึงอาจทำให้มีอาการ
เจ็บแสบและคันได้
       
1.3  มดลูก (uterus)
                   จากการบางลงของเนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ อันเป็นผลมาจากการขาดเอสโตรเจน

จึงพบว่าปากมดลูกเป็นแผลได้ง่ายและอาจมีลักษณะของ erosion  ต่อมภายในคอมดลูก

(endocervix) จะสร้างสารคัดหลั่งลดลง จึงมีส่วนทำให้ช่องคลอดแห้งมากขึ้นสำหรับการหย่อน

ตัวของมดลูก (uterine prolapse) กระเพาะปัสสาวะ (cystocele) และผนังของไส้ตรง

(rectocele) พบว่าน่าจะเป็นผลมาจากอายุที่มากขึ้นทำให้ความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อลดลง รวมถึง

ปัจจัยที่เป็นอันตรายต่อผนังช่องคลอด  เช่น  การคลอดที่ไม่ถูกวิธีมากกว่าเป็นผลจากการขาด

เอสโตรเจนโดยตรง
ตอบ1 เพราะ
โดยปกติแล้วเม็ดเลือดแดงของมนุษย์นั้นจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 ไมโครเมตร ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเซลล์อื่นๆ ของมนุษย์มาก เม็ดเลือดแดงทั่วๆ ไปของมนุษย์จะมีโมเลกุลฮีโมโกลบินอยู่ประมาณ 270 ล้านโมเลกุล แต่ละโมเลกุลมีหมู่ฮีมอยู่สี่หมู่
มนุษย์ที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีเม็ดเลือดแดงอยู่ในร่างกายประมาณ 20-30 ล้านล้านเซลล์ ผู้หญิงจะมีเม็ดเลือดแดงประมาณ 4-5 ล้านเซลล์ต่อไมโครลิตร (ลูกบาศก์มิลลิเมตร) ผู้ชายจะมีเม็ดเลือดแดงประมาณ 5-6 ล้านเซลล์ต่อไมโครลิตร และคนที่อาศัยอยู่ในเขตที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนต่ำ เช่น ในที่สูง ก็อาจมีปริมาณเม็ดเลือดแดงมากกว่านี้ได้ เม็ดเลือดแดงเป็นเม็ดเลือดที่พบมากกว่าเม็ดเลือดชนิดอื่นๆ มาก นั่นคือ ในหนึ่งไมโครลิตรของเลือดมนุษย์ จะมีเม็ดเลือดขาวอยู่เพียงประมาณ 4,000-11,000 เซลล์ และมีเกล็ดเลือดอยู่ประมาณ 150,000-400,000 เซลล์ เซลล์เม็ดเลือดแดงทั้งหมดในร่างกายมีธาตุเหล็กอยู่ประมาณ 3.5 กรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณธาตุเหล็กในเนื้อเยื่ออื่นถึงกว่าห้าเท่า
การตรวจสภาพความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count - CBC) จะการตรวจเบื้องต้นเพื่อหาปริมาณของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว รวมทั้งเกล็ดเลือดในร่างกาย ฮีโมโกลบิน (HGB) คือการวัดปริมาณ HGB ในเม็ดเลือดแดง เพื่อประเมินว่ามีภาวะของโลหิตจางหรือไม่ และสามารถนำข้อมูล
ตอบ1 เพราะ  ค่าความเป็นกรด-เบสในร่างกาย (ค่า pH ) ในร่างกายมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย เช่น การย่อยอาหาร การหายใจ การสังเคราะห์สารต่างๆ จำเป็นต้องใช้เอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทั้งสิ้น ถ้าสภาพความเป็นกรด-เบสในร่างกายเปลี่ยนไปมาก จะทำให้เอนไซม์ทำงานไม่ได้โดยทั่วๆ ไปเซลล์จะทำงานเป็นปกติในช่วง pH ของเซลล์มีค่าใกล้ๆ กับ 7 หรือมีสภาวะที่เป็นกลางหรือใกล้กับกลาง ถ้าสภาพความเป็นกรด-เบสในร่างกายเปลี่ยนไปมาก จะทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติได้ pH เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเป็นผลมาจากปฏิกิริยาภาพในเซลล์ เช่นการหายใจทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับน้ำจะแตกตัวอยู่ในรูปไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน และไฮโดรเจนไอออน ทำให้ค่า pH ลดลง ถ้าไม่มีการกำจัดไฮโดรเจนไอออนให้ลดลง ไฮโดรเจนไอออนจะเพิ่มขึ้นจนถึงขีดอันตราย เมื่อค่า pH ลดลง เลือดจะอยู่ในสภาวะเป็นกรดจะไปกระตุ้นสมองส่วนเมดัลลาออบลองกาตา ( medulla oblongata ) ทำให้กล้าเนื้อกะบังลมและซี่โครงทำงานมากขึ้น เกิดการหายใจเร็วและถี่ขึ้น เพื่อรับออกซิเจนเพิ่มขึ้น และทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ลดลง ทำให้หายใจช้าลง ค่า pH จึงสูงขึ้น เกิดการหายใจเข้า-ออกช้าลง
ตอบ4 เพระ  พารามีเซียมเคลื่อนที่โดยการโบกพัดของซีเลียไปทางด้านหลัง ทำให้ตัวของพารามีเซียมเคลื่อนที่ไปข้างหน้า จากการโบกพักของซีเลียทำให้ตัวของพารามีเซียมหมุนไปด้วย เนื่องจากไม่มีอวัยวะคอยปรับสมดุล และเนื่องจากซีเลียที่ร่องปากซึ่งมีจำนวนมากกว่าโบกพัดแรงกว่าบริเวณอื่นจึงทำให้หมุน แบคทีเรีย ยูกลีนา พารามีเซียม ไม่มีกล้ามเนื้อแต่อาศัยโครงสร้างที่เรียกว่า ซีเลีย (cilia) หรือ แฟลเจลลัม (flagellum) ช่วยในการเคลื่อนที่ เซลล์โดยทั่วไปถึงแม้จะมีขนาด รูปร่าง และหน้าที่แตกต่างกัน แต่ลักษณะพื้นฐานภายในเซลล์มักไม่แตกต่างกัน นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่า ในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า ออร์แกเนลล์ (organelle) มีหลายขนาด รูปร่าง จำนวน และหน้าที่ต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์ซึ่งจะประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน
ตอบ4 เพราะ 
ไฮโพทาลามัส เป็นส่วนหนึ่งของสมองที่เป็นฐานสมอง โดยด้านบนติดต่อกับทาลามัส ด้านล่างติดต่อกับก้านสมอง ภายในไฮโพทาลามัสประกอดไปด้วยเซลล์ประสาทมากมานและมีเส้นประสาทเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาท นอกจากนั้นไฮโพทาลามัสยังทำหน้าที่ผลิต และหลั่งฮอร์โมนหลายชนิด
ภายในไฮโพทาลามัสจะมีเซลล์ประสาทที่ผลิตฮอร์โมนกลุ่มแรกจะผลิตฮอร์โมน 2 ชนิด คือ วาโซเพรสซิน และออกซิโทซิน ซึ่งจะถูกลำเลียงไปตามแอกซอน และถูกเก็บไว้บริเวณปลายแอกซอนที่อยู่ในต่อมใต้สมองส่วนหลัง เมื่อเซลล์ประสาทดังกล่าวถูกกระตุ้นก็จะปลดปล่อยฮอร์โมนออกมา ซึ่งจะถูกดูดซึม และลำเลียงตามกระแสเลือดไปยังเนื้อเยื่อเป้าหมาย
เซลล์ประสาทที่ผลิตฮอร์โมนภายในไฮโพทาลามัสอีกกลุ่มหนึ่งจะทำหน้าที่ผลิต และหลั่งฮอร์โมนที่จะควบคุมการหลั่ง หรือยับยั้งฮอร์โมนแต่ละชนิดจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ตอบ4 เพราะ พืชสูญเสียน้ำไปโดยการคายน้ำ(transpiration) สู่บรรยากาศในรูปของไอน้ำผ่านทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ และทางผิวใบเพียงเล็กน้อยเพราะมีสารคิวทินเคลือบอยู่เป็นการป้องกันการสูญเสียน้ำในบางครั้งที่อากาศมีความชื้นสัมพันธ์สูง น้ำจะระเหยเป็นไอสู่บรรยากาศได้น้อยลง ทำให้การคายน้ำลดลง แต่แรงดันน้ำในต้นพืชยังสูงอยู่ จึงสามารถพบหยดน้ำที่บริเวณกลุ่มรูเปิดที่ผิวใบซึ่งเรียกว่า ไฮดาโทด (hydathode) มักพบอยู่ใกล้ปลายใบหรือขอบใบตรงตำแหน่งของปลายท่อลำเลียง การคายน้ำในลักษณะนี้เรียกว่า กัตเตชัน (guttation) ทำให้พืชสามารถดูดน้ำทางรากเข้าไปใช้ได้ พบทั้งในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและใบเลี้ยงคู่พืชนอกจากจะสูญเสียน้ำโดยการระเหยเป็นไอออกมาทางปากใบแล้วพืชยังสามารถสูญเสียน้ำเป็นไอน้ำออกมาทางเลนทิเซล (lenticle) ซึ่งเป็นรอยแตกที่ผิวของลำต้นได้อีกด้วย
ตอบ4 เพราะ
  • ต่อมหมวกไตตั้งอยู่ที่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง จึงเรียกว่าต่อมหมวกไต แต่ละต่อมประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้นคือ

    • ต่อมหมวกไตด้านนอกหรืออะดรีนัลคอร์เทกซ์ ( adrenal cortex ) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่แตกต่าง 3 ชนิด
    • ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา ( adrenal medulla )
      ซึ่งทั้งสองส่วนจะผลิตฮอร์โมนพวกสารสเตอรอยด์ที่ทำหน้าที่ต่างกัน การสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกต้องอาศัยฮอร์โมน ACTH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามากระตุ้น ต่อมหมวกไตมีความสำคัญอย่างยิ่ง ถ้าร่างกายขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ฮอร์โมนในกลุ่มนี้จะ
      ควบคุมเมแทบอลิซึมของ คาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีน รักษาระดับสารน้ำในร่างกายและช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับความเครียดต่อ
      เหตุการณ์ต่างๆทั้งในชีวิตประจำวันและยามฉุกเฉิน
    ตอบ4 เพราะ
    สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (อังกฤษ: Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อม[1] มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด[2] เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่
    ตอบ2 เพราะ
    คลอโรพลาสต์ ( chloroplaast) เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติค จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ ( chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส ถ้าพลาสติคนั้นไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ ( leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี ( starch grains) เรียกว่า amyloplast
    ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต ์ประกอบด้วย
    ส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา ( stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง ( dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่
    ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อิกเตอร์กรานา ( intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา ( grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ ( grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้
    ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง ( light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์
    ตอบ3 เพราะ
  • ส่วนหนึ่งของDNA( Segments of your DNA )ในโครโมโซม 1 ตัว ประกอบด้วยยีนจำนวนมาก

  • รับผิดชอบการควบคุบการผลิตโปรตีน( Responsible for controlling what proteins are produced )

  • เป็นหน่วยของการถ่ายทอดและควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม ลักษณะต่างๆ ที่สิ่งมีชีวิตถ่ายทอด จากพ่อแม่ไปสู่ลูก ยีนควบคุมลักษณะที่สามารถสังเกตได้ง่าย เช่น ความสูง สีตา สีผม ( การที่คนบนโลกหน้าตาไม่เหมือนกัน เพราะมียีนที่ต่างกันนั่นเอง และการที่ ฝาแฝดแท้ มีหน้าตาเหมือนกันทุกประการ ก็เพราะมียีนที่เหมือนกันทุกประการนั่นเอง ) ไปจนกระทั่ง ลักษณะที่สังเกตได้ยาก เช่น ลายนิ้วมือ สติปัญญา หมู่เลือด (รวมทั้งความเป็นเกย์ด้วยเช่นกัน)

  • ปากใบเปิดเมื่อเซลล์คุมเต่งและปิดเมื่อเซลล์คุมสูญเสียความเต่ง เซลล์คุมเต่งจะสูญเสียความเต่งได้โดยที่  ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์กำหนดความเต่งของเซลล์คุม เมื่อมีแสงปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุมเพิ่มขึ้น ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายเพิ่มขึ้น น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึงแพร่เข้าสู่เซลล์คุม ทำให้เซลล์เต่งมากขึ้นและเปลี่ยนรูปไปทำให้ปากใบเปิด ในทางตรงกันข้ามการลดปริมาณโพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุม ทำให้ความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์คุมลดลง น้ำจะแพร่ออกจากเซลล์คุมทำให้เซลล์คุมเปลี่ยนรูปไปเป็นผลให้ปากใบปิด
           2.  ผลต่อทางเดินปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ และฐานเชิงกราน (pelvic floor)  เป็นส่วนของทางเดิน
    ปัสสาวะที่มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการขับถ่ายปัสสาวะ เนื้อเยื่อของอวัยวะดังกล่าว จะไวต่อ

    การเปลี่ยนแปลงของระดับเอสโตรเจน  ในสภาวะปกติ แรงดันในท่อปัสสาวะ (urethral

    pressure) จะสูงกว่าแรงดันในกระเพาะปัสสาวะ (intravesical pressure) ทำให้กลั้นปัสสาวะ

    ได้  ยกเว้นในขณะถ่ายปัสสาวะ (micturition) ที่แรงดันในกระเพาะปัสสาวะจะสูงกว่าแรงดันใน

    ท่อปัสสาวะ   เนื้อเยื่อของท่อปัสสาวะที่มีผลต่อการกลั้นและการขับถ่ายปัสสาวะ     ซึ่งไวต่อการ

    เปลี่ยนแปลงของระดับเอสโตรเจนประกอบด้วย(75)

                2.1  เนื้อเยื่อบุผิว (epithelium)

                2.2  เส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยง (vasculature)

                2.3  เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue)

                2.4  กล้ามเนื้อ (muscle)

                โดยปกติเอสโตรเจนจะกระตุ้นให้มีการแบ่งตัวของเซลล์บุผิวบริเวณท่อปัสสาวะ        และ

    กระเพาะปัสสาวะทำให้มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์  superficial  และ intermediate  เช่นเดียวกับ

    เซลล์บุผิวของช่องคลอด   เอสโตรเจนจะช่วยให้มีการขยายตัวของหลอดเลือด และมีการไหลเวียน

    ของเลือดมาบริเวณดังกล่าวมากขึ้น   นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพันโดยเฉพาะ

    คอลลาเจนที่อยู่โดยรอบท่อปัสสาวะ  และยังกระตุ้นตัวรับแอลฟา (alpha receptor)  ที่อยู่บริเวณ

    ล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะ (urethral sphincter) ทำให้การหดรัดตัวของหูรูดดีขึ้น

                การขาดเอสโตรเจนทำให้เยื่อเมือกและเซลล์บุผิวบางลง         ทำให้มีการเจริญเติบโตของ

    แบคทีเรีย และเกิดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้นการขาดเอสโตรเจนทำให้

    เลือดที่มาหล่อเลี้ยงลดลง เครือข่ายหลอดเลือดดำ (venous plexa) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ  ซึ่งเป็น

    ตัวปรับความดันระหว่างการขับถ่ายปัสสาวะให้สม่ำเสมอ ราบเรียบ จะลดลง  ทำให้กายวิภาคของ

    ท่อปัสสาวะผิดแปลกไป  กอปรกับการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดเปลี่ยนแปลงไป   จึงมีผลต่อการ

    กลั้นและขับถ่ายปัสสาวะ   ดังนั้น จึงพบว่าสตรีที่เข้าสู่วัยหมดระดู อาจมีอาการของระบบทางเดิน

    ปัสสาวะ เช่น ถ่ายปัสสาวะบ่อย  (frequency) กลั้นปัสสาวะไม่ได้ (urinary incontinence) 

    เป็นต้น

               นอกจากการบางลงของเซลล์บุผิวบริเวณทางเดินปัสสาวะแล้ว  การขาดเอสโตรเจนทำให้

    ช่องคลอดแคบและสั้นลง ทำให้รูเปิดของท่อปัสสาวะ (urethral meatus)  เปลี่ยนมุมไปจากเดิม โดยลดต่ำลง หันเข้าสู่ช่องคลอดมากขึ้น   ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย   จึงพบว่าสตรีวัยหมดระดู

    มักมีอาการถ่ายปัสสาวะลำบาก (dysuria) จากท่อปัสสาวะอักเสบ (urethritis) และมีการติดเชื้อ

    ซ้ำของทางเดินปัสสาวะ (recurrent urinary tract infections) ได้บ่อย  ในส่วนของท่อปัสสาวะ

    ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน       โดยส่วนปลายท่อ (distal urethra) จะสูญเสียความยืดหยุ่นและ

    แข็งขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิด urethral caruncle, diverticula และท่อปัสสาวะโป่ง (urethrocele)

               นอกจากนี้   สตรีวัยหมดระดู อาจมีอาการ  urethral syndrome ได้บ่อย     กลุ่มอาการนี้

    ประกอบด้วยอาการถ่ายปัสสาวะบ่อย  (frequency) ปวดแสบปวดร้อน (burning)  ถ่ายปัสสาวะ

    ลำบาก  (dysuria)  ปัสสาวะบ่อยกลางคืน  (nocturia)  ต้องรีบถ่ายปัสสาวะ  กลั้นไว้ไม่ได้นาน (urgency)   โดยตรวจไม่พบเชื้อแบคทีเรียจากการเพาะเชื้อในปัสสาวะ  สำหรับ genuine stress incontinence ไม่พบว่าสัมพันธ์กับการขาดเอสโตรเจนในวัยหมดระดูอย่างชัดเจน

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น